วัดโพธิ์ชัย นอกจากจะเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระใส
พระคู่บ้านคู่เมืองที่ชาวหนองคายเคารพบูชาแล้ว ยังเป็นสถานที่เก็บรักษา หงอนพญานาค
จำนวน 2 ชิ้น ตามความเชื่อของผู้ที่นำมามอบให้ด้วย
ปัจจุบันหงอนพญานาคถูกเก็บรักษาอยู่ในตู้โชว์ภายในอุโบสถรวมกับเครื่องบรรราการต่างๆ
ที่ถูกนำมาถวายพร้อมกัน เช่น แจกันเงิน พานเงิน ขันเงิน น้ำเต้าเงิน
กระติบข้าวเงิน งาช้าง และพระพุทธรูปที่ทำจากไม้จันทร์หอม รวมถึงเอกสารหลักฐานต่างๆ
เกี่ยวกับการค้นพบหงอนพญานาคก็ได้ถูกเก็บไว้ด้วยเช่นกัน
เรื่องราวความเป็นมาของหงอนพญานาค
มีพระลูกวัดรูปหนึ่งในวัดโพธิ์ชัยได้ไขข้อข้องใจของนักข่าวหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งจนเป็นข่าวครึกโครมมาแล้วว่า
เมื่อราว ต.ค. 2545 มีชายชื่อ อินตา เจ้าฮั่น ห่านฟ้า
ชาวลาวอ้างว่าเป็นผู้สืบเชื้อสายพระไชยเชษฐา กษัตริย์แห่งล้านช้าง
นำหงอนพญานาคมามอบให้พระเทพมงคลรังษี เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย เจ้าคณะจังหวัดหนองคาย
เพื่อเก็บรักษาไว้ให้ชาวหนองคายและพุทธศาสนิกชนได้ชมและสักการบูชา
เนื่องจากวัดแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระใส ที่พระเจ้าไชยเชษฐาสร้างไว้
นอกจากนี้ นายอินตา เจ้าฮั่น ห่านฟ้า ยังได้นำขันหมากทองคำ ขันเงิน แจกันเงิน
กระติ๊บข้าวเงิน งาช้าง และของมีค่าหลายชิ้นมอบไว้ให้กับวักโพธิ์ชัยอีกด้วย
สำหรับชิ้นส่วนดังกล่าวจะเป็นหงอนพญานาคจริงหรือไม่ยังไม่สามารพิสูจน์ได้
เพียงแต่ตั้งชื่อตามผู้ให้ระบุ ทุกวันนี้มีผู้คนมากราบไหว้จำนวนมาก
บางคนเชื่อว่าเป็นชิ้นส่วนของพญานาคจริง บางคนยังสงสัยอยู่
และยังไม่มีหน่วบงานใดมาตรวจพิสูจน์ว่าเป้นอะไรกันแน่ แต่ที่นำมาตั้งโชว์ให้คนบูชา
เพราะผู้ให้มีวัตถุประสงค์ดี ต้องการให้ประชาชนทั้งไทยและลาว
รวมทั้งชาวบ้านลุ่มแม่น้ำโขงทำความดีอยู่ในศีลธรรม ยึดมั่นในพระพุทธศาสนา (หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
ฉบับวันที่ 7 มิถุนายน 2546)
หงอนพญานาคทั้ง 2 ชิ้น มีรูปร่างสามเหลี่ยม ฐานกว้าง 4 นิ้ว สูง 6
นิ้ว มีผิวขรุขระคล้ายหินปูน มีรอยเป็นแนวตามความสูง 4 รอย และ 5 รอย
ฐานมีสีน้ำตาลเข้ม ส่วนปลายเป็นสีขาว โค้งงอเล็กน้อย และมีป้ายกำกับไว้ว่า “หงอนพญานาค
(ผู้ถวายมีความเชื่อว่าเป็นหงอนพญานาค”)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น