วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ภูริทัตต์ พระโพธิสัตว์นาคราช

เรื่องราวของพญานาคชื่อว่า “ภูริทัตต์” นี้เป็นเรื่องที่ 6 ใน “ทศชาดก” พูดด้วยภาชาวบ้านก็คือ เป็น “10 เรื่อง 10 ชาติ” สุดท้ายก่อนที่พระโพธิสัตว์จะเกิดเป็นพระเวสสันดรในชาติที่ 10 และบังเกิดเป็น เจ้าชายสิทธัตถะ และได้เสด็จออกผนวชจนกระทั่งตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในเวลาต่อมา ทศชาดกนั้นมีดังนี้
1.เตมีย์ชาดก
2.ชนกชาดก
3.สุวรรณสามชาดก
4.เนมิราชชาดก
5.มโหสถชาดก
6.ภูริทัตต์ชาดก
7.จันทชาดก
8.นารทชาดก
9.วิทูรชาดก
10.เวสสันดรชาดก

เรื่องของ ภูริทัตต์นาคราช นั้น กล่าวถึงการบำเพ็ญเพียรบารมีขั้นสูงสุดของพระโพธิสัตว์ เมื่อคราวที่บังเกิดเป็นพญานาค แม้จะถูกเบียดเบียนได้รับทุกทรมารจนปางตาย แต่พระองค์ก็ไม่ยอมเสียวาจาสัตย์ที่เคยตั้งสัจจอธิษฐานไว้ ความว่า

พระราชาพระองค์หนึ่งพระนามว่า “พรหมทัตต์” ครองราชสมบัติอยู่ที่เมืองพาราณสี ทรงแต่งตั้งให้พระโอรสดำรงตำแหน่ง “อุปราช” อยู่ต่อมาพระองค์ทรงระแวงว่าโอรสคิดแย่งราชสมบัติ จึงมีพระบรมราชโองการให้ออกไปอยู่นอกเมือง จนกว่าพระองค์จะสิ้นพระชนม์จึงจะกลับมาได้ พระราชโอรสได้ปฏิบัติตามพระราชโองการ โดยได้เสร็จไปบวชเป็น “ฤๅษี” อาศัยอยู่ที่ริมแม่น้ำชื่อว่า “ยมุนา” ครั้งนั้นมีนางนาคตนหนึ่งซึ่งนาคสามีได้ตายจาก และนางต้องอยู่แต่เพียงลำพัง เมื่อเกิดความหว้าเหว่จนไม่อาจทนอยู่ในนาคพิภพได้ จึงขึ้นมาท่องเที่ยวไปตามริมฝั่ง จนมาถึงศาลาที่พักของพระราชโอรส นางประสงค์ที่จะลองใจว่าฤๅษีผู้พำนักอยู่ในศาลานี้เป็นผู้ที่บวชด้วยจิตเลื่อมใสศรัทธาหรือไม่ จึงได้ตกแต่งประดับประดาทีนอนในสาลานั้นด้วยดอกไม้หอม และของทิพย์จากเมืองนาคพิภพ เมื่อฤๅษีกลับมาเห็นก็ยินดี ประทับนอนด้วยความสุขตลอดคืน รุ่งเช้าเมื่อฤๅษีออกไปจากศาลา นางนาคก็เข้ามาดู เมื่อรู้ว่าที่นอนมีรอยคนนอน จึงรู้ว่าฤๅษีผู้นี้ไม่ได้บวชด้วยความศรัทธา แต่ยังคงยินดีในของสวยงามตามวิสัยคนมีกิเลส จากนั้นจึงจัดเตรียมที่นอนไว้ดังเดิมอีก ในวันที่ 3 ฤๅษีเกิดความสงสัยว่าใครเป็นผู้จัดที่นอนออันสวยงามนี้ไว้ จึงทำทีว่าเข้าป่าและแอบดูอยู่บริเวณศาลา และเมื่อนางนาคเข้ามาตกแต่งที่นอน ฤาจึงถามนางว่า เป็นใคร มาจากไหน เมื่อได้รับคำตอบว่าเป็นนาค ชื่อ มาณวิกา เมื่อสามีตายจึงเกิดความหว้าเหว่ จึงออกมาจากนาคพิภพ ฤามีความยินดีจึงบอกแก่นางว่า หากพึงพอใจก็จงอยู่ที่นี่ จากนั้นทั้ง 2 จึงอยู่ด้วยกันฉันสามีภรรยา เมื่อเวลาผ่านไป นานาคได้ให้กำเนิดโอรสองค์หนึ่งชื่อว่า “สาครพรหมทัตต์” ต่อมาก์ประสูตรพระธิดาองค์หนึ่งชื่อว่า “สมุททชา”

ครั้นเมื่อพระเจ้าพรหมทัตต์สวรรคตแล้ว เสนาอำมาตยืทั้งหลายจึงได้จัดกระบวนไปเชิญเสด็จพระราชบุตรกลับมาครองเมือง พระราชบุตรทรงถามนางนาคมาณวิกาว่าจะไปอยู่ในเมืองพาราณสีด้วยกันหรือไม่ นางนาคได้กล่าวปฏิเสธ โดยให้เหตุผลว่า ตนเองเป็นนาคที่อารมณ์ร้าย เกรงจะทำอันตรายผู้คน พระราชบุตรจึงนำพาโอรสธิดากลับไปนครพาราณสี

อยู่มาวันหนึ่ง ขณะที่โอรสธิดาเล่นน้ำอยู่ในสระ ก็เกิดตกใจกลัวเต่าตัวหนึ่ง พระบิดาจึงให้คนจับเต่านั้นไปทิ้งไว้ที่วังน้ำวนแม่น้ำยมุนา เมื่อเต่าจมลงไปถึงเมืองนาค และเมื่อถูกพวกนาคจับไว้ เต่าก็ออกอุบายบอกนาคทั้งหลายว่า เราเป็นทูตของพระราชาพาราณสี พระองค์ให้เรามาเฝ้าท้าวธตรฐโดยพระองค์จะพระราชทานพระธิดาให้เป็นพระชายาของท้าวธตรฐ เมืองพาราณสีกับนาคพิภพจะได้เป็นดองกัน เมื่อท้าวธตรฐได้ฟังก็มรงยินดี จึงสั่งให้นาค 4 ตน เป็นฑูตนำบรรณาการไปถวายพระราชาพาราณสีและขอรับตัวพระธิดามาเมืองนาค พราะราชาเมื่อทรงทราบข่าวก็แปลกพระทัยจึงตรัสกับนาคทั้ง 4 ว่า “มนุษย์กับนาคนั้นต่างเผ่าพันธ์กัน จะแต่งงานกันได้อย่างไร” เหล่านาคทั้ง 4 เมื่อได้ฟังดังนั้น จึงกลับไปกราบทูล้าวธตรฐว่าพระราชาพาราณสีทรงดูหมิ่นว่านาคเป็นเผ่าพันธ์งู ไม่คู่ควรกับพระธิดา เมื่อท้าวธตรบได้ฟังก็ทรงพิโรธ จึงตรัสสั่งให้นาคบริวารทั้งหลายขึ้นไปเมืองมนุษย์ แผ่พังพานแสดงอิทธิฤทธิ์ตามสถานที่ต่างๆ เพื่อให้ชาวเมืองยำเกรง จนในที่สุดพระราชาทรงต้องจำยอม และได้ส่งพระนางสมุททชาให้ไปเป็นชายาของท้าวธตรฐ

ฝ่ายพระนางสมุททชา เมื่อไปอยู่นาคพิภพก็ไม่ทรงรู้ว่าเป็นเมืองนาค เพราะท้าวธตรฐสั่งให้นาคบริวารจำแลงแปลงกายเป็นมนุษย์ทั้งหมด นางก็อยู่อย่างสุขสบายเรื่อยมา จนมีโอรส 4 องค์ ชื่อว่า สุทัศนะ ทัตตะ สุโภคะ และ อริฏฐะ

อยู่มาวันหนึ่ง “อริฏฐะ” ได้ฟังนาคกุมารทั้งหลายบอกว่ามารดาของตนไม่ใช่นาค จึงได้ทดลองดู โดยเนรมิตกายกลับเป็นนาค นางสมุททชาเห็นเช่นนั้นก็ตกพระทัย ได้ปัดอริฏฐะตกจากตัก จังหวะนั้นเล็บของพระนางได้ข่วนเอานัยน์ตาของอริฏฐะบอดไปข้างหนึ่ง นับตั้งแต่นั้นมานางจึงรู้ว่าสถานที่อยู่นี้เป็นนาคพิภพ และครั้นเมื่อพระโอรสทั้ง 4 เจริญวัยขึ้นแล้ว ท้าวธตรฐจึงได้แบ่งสมบัติให้ครอบครองคนละเขต โดยเฉพาะ “ทัตตะ” ผู้เป็นโอรสที่ 2 นั้น เป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาดมาก ได้มาเฝ้าพระบิดามารดาอยู่เป็นประจำ อีกทั้งช่วยพระบิดาแก้ไขปัญหาต่างๆ อยู่เสมอ แม้ปัฐหาของเทวดาทัตตะก็สามารถแก้ไขได้ จึงได้รับการยกย่องและสัญเสริญว่า “ภูริทัตต์” คือ ผู้มีปัญญาดุจแผ่นดิน อนึ่ง ภูริทัตต์นั้นได้เคยไปเทวโลกกับพระราชบิดาอยู่เสมอ และเห็นว่าเป็นที่น่ารื่นรมย์ จึงตั้งใจว่าจะรักษาอุโบสถศีลเพื่อจะได้ไปเกิดในเทวโลก จากนั้นภูริทัตต์จึงเริ่มรักษาอุโบสถศีล แต่ด้วยนาคบริวารทั้งหลายสร้างความรำคาญ จึงขึ้นไปรักษาอุโบสถศีลอยู่ที่เมืองมนุษย์ โดยขนดรอบจอมปลวกอยู่ใกล้ต้นไทรริมแม่น้ำยมุนา และได้ตั้งสัจจอธิษฐานว่า แม้ผู้ใดต้องการหนัง เอ็น กระดูก เลือดเนื้อของตน ก็จะยอมบริจาคให้ ขอเพียงให้รักษาศีลให้บริสุทธิ์ก็พอ

ครั้งนั้น มีนายพรานคนหนึ่งชื่อ “เนสารท” ออกเที่ยวล่าสัตว์ในแถวแม่น้ำยมุนาและได้มาพบภูริทัตต์นาคราชเข้า เมื่อสอบดูจึงรู้ว่าเป็นโอรสของราชาแห่งนาค ภูริทัตต์ เห็นว่าเนสารทเป็นพรานใจบาปหยาบช้าและอาจเป็นอันตรายแก่ตนได้ จึงบอกกับพรานนั้นว่า เราจะพาท่านกับลูกชาย (โสมทัต) ลงไปเสวยสุขอยู่นาคพิภพ และเมื่อพรานกับลูกชายลงไปอยู่เมืองนาคได้ไม่นาน ก็เกิดคิดถึงเมืองมนุษย์ จึงปรารถกับภูริทัตต์ว่าอยากจะกลับไปเยี่ยมญาติพี่น้องและอยากจะออกบวชรักษาศีลบ้าง ภูริทัตต์จึงต้องจำยอมพาพรานนั้นกลับไปเมืองมนุษย์ตามเดิม

ครั้งนั้น มีพญาครุฑ ตัวหนึ่งอาศัยอยู่บนต้นงิ้วฝั่งมหาสมุทรด้านใต้ วันหนึ่ง ในขณะออกไปจับพญานาคมากินเป็นอาหาร พญานาคตัวหนึ่งเมื่อถูกครุฑจับได้เอาหางพันกิ่งไทรที่อยู่ท้ายศาลาพระฤๅษีแห่งหนึ่งไว้ จนต้นไทรถอนรากติดมาด้วย ครั้นเมื่อครุฑนั้นฉีกท้องของพญานาคกิน (ไขมัน) แล้ว เมื่อทิ้งร่างของพญานาคไปจึงได้เห็นต้นไทร จึงรู้ว่าได้ทำความผิด คือ ถอนเอาต้นไทรที่เป็นที่อยู่ของพระฤๅษีมาด้วย ทีนั้น พญาครุฑจึงแปลงกายเป็นชายหนุ่มเข้าไปถามพระฤๅษี และเมื่อได้คำตอบจนสบายใจแล้วว่า ทั้งตนและพญานาคไม่มีใครผิด และเพื่อเป็นการตอบแทน พญาครุฑในคราบจำแลงจึงได้สอนมนตืชื่อ “อาลัมพายน์” อันเป็น มนต์สำหรับครุฑใช้จับนาค แก่พระฤๅษี

อยู่มาวันหนึ่ง มีพราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปในป่า และเผอิญได้พบกับพระฤๅษี จึงได้บวชอยู่ปรนนิบัติ จนพระฤาษีพอใจ ฤๅษีจึงสอนมนต์อาลัมพายน์ให้ ฝ่ายพราหมณ์เห็นว่าตนมีมนต์นี้แล้วอาจจะเลี้ยงตัวได้จึงลาพระฤๅษีกลับไป ในระหว่างทาง พราหมณ์นั้นก็เดินสาธยายมนต์ไปด้วย พญานาคทั้งหลายทีขึ้นมาเล่นน้ำเมื่อได้ยินมนต์นั้นก็ตกใจกลัวนึกว่าพญาครุฑมา ต่างรีบงสู่นาคพิภพจนลืม “ดวงแก้วสารพัดนึก” ไว้บนฝั่ง เมื่อพราหมณ์ได้เห็นดวงแก้วก็หยิบไปด้วย และในระหว่างทางก็บังเอิญไปเจอกับพราณเนสราทพร้อมกับลูกชายที่เที่ยวล่าสัตว์อยู่ เมื่อพราณเนสราทเห็นดวงแก้วนั้นก็จำได้ว่าเหมือนกับดวงแก้วที่ภูริทัตต์เคยให้ดูเมื่อตอนที่ตนและลูกชายลงไปนาคพิภพ จึงออกปากขอดวงแก้วกับพราหมณ์นั้น โดยมีข้อแลกเปลี่ยนว่า ถ้าอยากจะรู้เรื่องอะไร จะบอกเรื่องนั้นๆ ให้ทราบ พราหมณ์จึงบอกว่าอยากรู้ที่อยู่ของนาค เพราะตนมีมนต์จับนาค พรานเนสราทจึงพาไปดูที่ที่ ภูริทัตต์ รักษาศีลอยู่ ฝ่ายโสมทัตต์ผู้เป็นลูกชายเกิดความละอายใจที่บิดาคิดไม่ซื่อสัตย์จะทำร้ายมิตรจึงหลบหนีไป

กล่าวถึงภูริทัตต์นาคราช ในขณะที่จำศีลอยู่ เมื่อลืมตาขึ้นดูก็รู้ว่าพราหมณ์คิดจะทำร้ายตน แต่หากจะตอบโต้ศีลก็จะขาด เมื่อปรารถนาจะรักษาศีลให้บริสุทธิ์จึงหลับตานิ่งเสีย ขดกายแน่นิ่งไม่เคลื่อนไหวแต่อย่างใด ทันใดนั้นพราหมณ์จึงร่ายมนต์อาลัมพายน์ และเข้าไปจับภูริทัตต์นาคราช ได้กดศีรษะ จับปากให้อ้าออก เขย่าให้สำรอกอาหาร แต่ภูริทัตต์ก็มิได้ตอบโต้

เมื่อพราหมณ์จับภูริทัตต์ได้แล้ว ได้นำไปออกแสดงให้ประชาชนดู โดยบังคับให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ จนเป็นที่พอใจของคน และได้เปิดทำการแสดงจนมาถึงเมืองพาราณสี โดยได้กราบทูลแด่พระราชาว่า จะให้นาคแสดงฤทธิ์เพื่อให้ทอดพระเนตร

ครั้งนั้น พระนางสมุททชา เมื่อรู้ว่าภูริทัตต์หายไปจึงให้พี่น้องออกตามหา โดยสุทัศนะไปโลกมนุษย์ โดยมีนางอัจจิมุขผู้เป็นนน้องสาวต่างมารดาของภูริทัตต์ตามไปด้วย สุโภคะไปป่าหิมพานต์ และอริฏฐะไปเทวโลก

เมื่อสุทัศนะมาถึงเมืองพาราณสี ก็ได้ข่าวว่ามีพญานาคถูกจับมาแสดง จึงตามไปดู ทีนั้นภูริทัตต์เห็นพี่ชายจึงเลื่อนเข้าไปหา และได้ซบหัวร้องไห้อยู่ที่เท้า จากนั้นจึงเลื่อยกลับไปหาพราหมณ์  พราหมณ์กล่าวกับสุทัศนะไม่ให้กล้ว โดยกล่าวว่า “หากท่านถูกนาคกัด ไม่ช้าก็จะหาย” สุทัศนะตอบว่า “เราไม่กลัวหรอก นาคนี้ไม่มีพิษ” พราหมณ์หาว่าสุทัศนะดูถูกตนหาว่าเอานาคไม่มีพิษมาแสดง จึงเกิดการโต้เถียงกันขึ้น สุทัศนะจึงท้าว่า “เขียดตัวน้อยของเรายังมีพิษมากกว่านาคของท่านเสียอีก จะลองเอามาประชันฤทธิ์กันก็ได้” เมื่อถูกท้าทาย พราหมณ์จึงกล่าวว่า “หากจะให้สู้กันก้จะต้องมีเดิมพันติดปลายนวมเสียหน่อยจึงจะดูสนุก” สุทัศนะจึงขอให้พระราชาพาราณสีเป็นผู้ประกันให้ตนโดยให้เหตุผลว่า พระราชาจะได้ทอดพระเนตรการต่อสู้ระหว่าง “นาค” กับ “เขียด” เป็นการตอบแทน ซึ่งพระเจ้ากรุงพาราณสีก็ตกลงตามนั้น

สุทัศนะจึงเรียกนางอัจจิมุขออกมาจากมวยผม และให้คายพิษลงบนฝ่ามือ 3 หยด แล้วทูลว่า “พิษของเขียดน้อยนี้ร้ายแรงนัก เพราะนางเป็นธิดาท้าวธตรฐราชาแห่งนาคพิภพ และหากพิษนี้หยดลงบนพื้นดินพืชพันธ์ไม้ก็จะตายหมด หรือหากโยนขึ้นไปในอากาศจะเกิดความแห้งแล้ง เพราะฝนจะไม่ตกไป 7 ปี และถ้าหยดลงในน้ำ สัตว์น้ำจะตายหมด” ทันใดนั้นสุทัศนะจึงให้ขุดบ่อ 3 บ่อ กล่าวคือ บ่อแรกใส่ยาพิษ บ่อที่สองใส่โคมัย บ่อที่สามใส่ยาทิพย์ เมื่อหยดพิษลงในบ่อแรก ทันใดนั้นของเกิดควันลุกจนเป็นเปลวไฟ และได้ลามไปติดบ่อที่สองและสามตามลำดับ จนกระทั่งยาทิพญ์ไฟม้ฟมดไฟจึงดับ ฝ่ายพราหมณ์ซึ่งยืนอยู่ข้างบ่อไม่ทันระวังตัว ได้ถูกไอพิษลวกจนผิวหนังด่างไปทั้งตัว จึงร้องขึ้นด้วยกลัวตายว่า “ข้าพเจ้ากลัวแล้ว ข้าพเจ้าจะปล่อยนาคนั่นให้เป็นอิสระ” ภูริทัตต์ได้ยินดังนั้นจึงเลื่อยออกมาจากที่ขังและเนรมิตกายเป็นมนุษย์ ทูลเรื่องทั้งหมดให้พระราชาทรงทราบ เมื่อทราบว่าภูริทัตต์เป็นโอรสของพระนางสมุททชาก็เท่ากับเป็นหลานของตัวเอง พระราชาจึงทรงเข้าไปโอบกอดพระหลานรักทั้ง 3 พระองค์ พร้อมกับตรัสถามข่าวคราวของพระนางสมุททชาผู้เป็นน้องสาว จากนั้นสุทัศนะและนางอัจจิมุขจึงพาภูริทัตต์กลับนาคพิภพ

ฝ่ายสุโภคะที่ออกค้นหาภูริทัตต์ที่ป่าหิมพานต์ เมื่อไม่พบจึงกลับมาทางแม่น้ำยมุนา และบังเอิญได้มาเจอกับพรานเนสารทซึ่งกำลังสำนึกผิดในบาปทำตนทำลงไป และต้องถูกลูกชายทอดทิ้ง สุโภคะเมื่อทราบดังนั้น จึงเอาหางรัดพันพรานเนสารทลากดึงให้จมน้ำแต่ไม่ให้ตาย (แก้วสารพัดนึกได้หลุดมือจมน้ำไป) แล้วจึงนำไปสู่นาคพิภพเพื่อทำการสืบสวนต่อไป

เมื่อมาถึงนาคพิภพ และทันทีที่พรานเนสารทได้แลเห็นภูริทัตต์ที่บอบช้ำ ก็ยิ่งรู้สึกเสียใจในบาปมากยิ่งขึ้น แต่ภูริทัตต์ก็ไม่ได้เอาความแต่อย่างใด เพียงให้นำพรานนั้นออกไปจากนาคพิภพก็เท่านั้น

อยู่ต่อมาครั้นถึงวันที่ต้องไปเข้าเฝ้าพระอัยยิกาวึ่งออกบวชอยู่ในป่า (พระเจ้าพาราณสีซึ่งเป็นพระสวามีของนางนาคมาณวิกา) ทั้งฝ่ายของพระราชาพาราณสีและฝ่ายของนาคพิภพได้ยกขบวนมาอย่างยิ่งใหญ่ เมื่อพระราชวงศ์ทั้งหมดมาเจอกัน ก็สวมกอดและกรรแสงด้วยดีพระทัย และเมื่อประทับอยู่ด้วยกันระยะหนึ่ง ทั้งหมดจึงแยกย้ายจากกัน 

6 ความคิดเห็น:

  1. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณครับ ที่เล่าสนใจดี
    ขอให้ทำต่อไปเรื่อยๆนะครับ

    ตอบลบ
  3. ทำไมอ่านแล้วน้ำตาไหล ตอนที่นาคภูริทัตต์ โดนพรานไปแสดงโชว์ และเจอพี่ชาย เอาหัวไปซบที่เท้าแล้วร้องไห้ น้ำตาก็ไหลเฉยเลย

    ตอบลบ
  4. ขอบคุณในการเผยแผ่ความดีงามนะครับ

    ตอบลบ