เหตุใดพญานาคไม่สามารถบวชได้?
ข้อห้ามไม่ให้พญานาคบวช
เกิดในสมัยมราพระพุทธเจ้ายังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ ความตามพุทธประวัติกล่าวว่า
ครั้งนั้น มีพญนานาคตัวหนึ่งรู้สึกอึดอัด ระอา และเกลียดการเกิดเป็นนาคของตน
เพราะต้องเลื้อยไปด้วยอก ไม่สง่างาน เลยมาคิดว่าทำอย่างไรจึงจะพ้นจากกำเนิดนาคนี้ได้
และไปเกิดเป็นมนุษย์ได้เร็วขึ้น แล้วก็คิดได้ว่า
พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเป็นผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสงบ ประพฤติพรหมจรรย์
กล่าวแต่คำสัตย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม
หากได้บวชในสำนักนี้ตนจะสามารถพ้นจากการเกิดเป็นนาคและเกิดเป็นมนุษย์ได้เร็วขึ้น
คิดได้ดังนั้นก็ร่ายมนต์แปลงกายเป้นชายหนุ่มเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายเพื่อขอบวช ภิกษุทั้งหลายไม่ได้แปลกใจอะไรจึงบรรพชาให้ตามความต้องการ
พระนาคได้พักอยู่ในกุฏิท้ายวัดกับภิกษุรูปหนึ่ง
ครั้นใกล้สว่างภิกษุรูปนั้นก้ตื่นนอนออกไปเดินจงกลมอยู่ด้านนอก
พอภิกษุรูปนั้นออกไปแล้วพระนาคก้วางใจเผลอหลับสนิท
จึงได้กลายร่างกลับเป็นนาคดังเดิม
เมื่อภิกษุรูปนั้นกลับมาก็พบกับงูใหญ่นอนขดตัวอยู่เกือบเต็มกุฏิจึงตกใจร้องเอะอะขึ้น
พราะนาคตกใจจึงแปลงกายเป็นมนุษย์ ภิกษุทั้งหลายจึงถามว่าท่านเป็นใคร พราะนาคตอบว่า
ผมเป็นนาค ภิกษุทั้งหลายถามว่าท่านทำเช่นนี้เพื่ออะไร พระนาคจึงบอกเจตนาไป
ภิกษุทั้งหลายจึงทูลต่อพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์
และทรงประทานพระพุทโธวาทแก่นาคนั้นว่า พวกเจ้าเป็นนาค มีความไม่งอกงามในธรรมวินัยนี้เป็นธรรมดา
ไปเถิอเจ้านาค จงไปรักษาอุโบสถศีลในวันที่ 14 ที่ 15 และที่ 8 แห่งปักษ์นั้นแหล่ะ
(14 ค่ำ 15 ค่ำ 8 ค่ำ) การรักษาอุโบสถศีลนี้มีบุญมาก
ด้วยวิธีนี้เจ้าจักพ้นจากกำเนิดนาค และจักรกัลได้อัตภาพเป็นมนุษย์เร็วพลัน เมื่อนาคได้ฟังว่าตนมีความไม่งออกงามในธรรมวิยันก็เสียใจจนหลั่งน้ำตาและส่งเสียงดังก่อนจะหลีกออกไป
พระพุทธเจ้ายังคงรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
เหตุแห่งความปรากฏตามสภาพของนาคมีสองประการคือ
เวลาเสพเมถุนธรรมกับนางนาคผู้มีชาติเสมอกัน หนึ่ง เวลาวางใจนอนหลับ หนึ่ง ก็จะปรากฏตามสภาพของนาคดังเดิม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบัน คือ สัตว์ดิรัจฉาน
ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้วต้องให้สึกเสีย (เนื้อความในพระไตรปิฎกจบเพียงเท่านี้)
เมื่อพราะพุทธองค์ให้นาคสึก นาคเสียใจเป็นอย่างมากจนถึงกับหลั่งน้ำตา
เพราะความน้อยเนื้อต่ำใจว่าตนไม่ได้เกิดเป็นมนุษย์ จึงขอร้องให้หมู่ภิกษุเรียกผู้ที่จะบวชว่านาค
เพื่อให้ระลึกถึงตน และชื่อของตนจะปรากฏอยู่ชั่วกาลนาน
นับแต่นั้นมาก่อนขะบวชเป็นพระจึงเรียกว่า บวชนาค มาจนถึงปัจจุบัน
จากความศรัทธาและเพียรพยายามในการบำเพ็ญบารมีของนาค เราจึงเรียกพญางูซึ่งเป็นสัตว์กึ่งเทพนี้ว่า
“พญานาค” เพราะแม้กำเนิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน แต่ก็ยังหมั่นแสวงหาคุณอันประเสริฐ
ถึงพญานาคบางพวกจะมีมิจฉาทิฏฐิ
แต่พอได้รับการกล่อมเกลาจิตใจก็กลับกลายเป็นผู้ประเสริฐได้
เหตุใดพญานาคจึงไม่สามารถบรรลุธรรมได้?
นอกจากจะบวชไม่ได้แล้ว พญานาคนั้น
แม้อยากจะบรรลุธรรมก็ทำไม่ได้เหมือนกัน
บุญที่เกิดจากการรักษาอุโบสถศีลนั้นส่งผลให้เป็นมนุษย์เร็วขึ้นเท่านั้น
เหตุที่พญานาคไม่สามารถบรรลุธรรมได้ ก็เพราะพญานาคเป็นสัตว์อยู่ใน ติรัจฉานภูมิ
(โลกเดรัจฉานอยู่ในโลกมนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน โลกของสัตว์ที่มีความยินดีในเหตุ 3
ประการ คือ การกิน การนอน การสืบพันธ์) เป็นอยู่ด้วยสัญญา 3 อย่าง คือ
1. กามสัญญา คือ การรู้จำในกามกิเลส
2. อาหารสัญญา คือ การรู้จำในการกินอาหาร
3. มรณะสัญญา คือ เดรัจฉานทุกชนิดย่อมรู้จักตาย
สิ่งที่พญานาคไม่มีก็คือ “ธรรมสัญญา” จึงไม่สามารถบรรลุพระนิพพานได้
แม้จะเป็นพวกที่มีสัมมาทิฐิ มีธรรมศัญญาอยู่บ้าง ขึ้นอยู่กับบาปบุญที่สะสมมา
แต่ไม่อาจบรรลุธรรมได้อยู่ดี
พญานาคนั้นเป็นอภัพพสัตว์ คือ ไม่สามารถบรรลุนิพพานได้
เหตุใดพญานาคจึงต้องรักษาอุโบสถศีล?
จากพระพุทธโธวาทแก่นาคที่ว่า การรักษาอุโบสถศีลนี้มีบุญมาก
ด้วยวิธีนี้เจ้าจักพ้นจากกำเนิดนาค และจักรกัลได้อัตภาพเป็นมนุษย์เร็วพลัน
หลังจากที่พญานาคได้ยินดังนั้นก็มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าตั้งใจรักษาอุโบสถศีล
เพื่อจะได้ไปเกิดเป็นมนุษย์อย่างเร็วพลัน ว่ากันตามพระไตรปิฎกแล้ว
เรื่องการรักษาอุโบสถศีล เป็นสิ่งที่พญานาคถือปฏิบัติและเชื่อมั่นมาตั้งแต่ก่อนพุทธกาลแล้ว
ว่าจะทำให้ได้บุญมหาศาลและสามารถไปเกิดในภูมิที่ดีกว่าได้ดังความตอนหนึ่งใน ภูริทัตต์
พระโพธิสัตว์นาคราช
ภูริทัตต์นั้นได้เคยไปเทวโลกกับพระราชบิดาอยู่เสมอ
และเห็นว่าเป็นทีน่ารื่นรมณ์ จึงตั้งใจว่าจะคอยรักษาอุโบสถศีล
เพื่อจะได้ไปเกิดในเทวโลก จากนั้นจึงเริ่มรักษาอุโบสถศีล แต่เมื่อถูกนาคบริวารทั้งหลายห้อมล้อมก็เกิดความรำคาญจึงขึ้นไปอยู่ที่เมืองมนุษย์
โดยขดรอบจอมปลวกใกล้ต้นไทรริมแม่น้ำยมุนา และตั้งสัจอธิษฐานว่า แม้ผู้ใดต้องการหนัง
เอ็น กระดูก เลือดเนื้อของตน ก็จะยอมบริจาคให้ ขอเพียงให้รักษาศีลให้บริสุทธิ์ก็พอ
จัมเปยยะ พระโพธิสัตว์นาคราช อดีตชาติของพระพุทธเจ้าก็เช่นกัน ยึดมั่น
มุ่งมั่น และมีความตั้งใจในการรักษาอุโบสถศีลมาก ดังใจความตอนหนึ่งว่า
เมื่อครองนาคทิพย์สมบัติและเสวยสุขอยู่ในนาคภิภพนานวันเข้า พญาจัมเปยยะนาคราช
ก็รู้สึกเบื่อหน่าย อยากจะสึกษาธรมมและรักษาอุโบสถศีล บางครั้งพระองค์ก็ออกมาผู้เดียวเพื่อหวังให้จิตใจสงบ
แต่นางนาคม๊ณวิกาก็ตามไปยั่วยวน จนบางครั้งก็ทำให้ศีลขาดอยู่เนื่องๆ พญาจัมเปยยะนาคราชจึงมีดำริว่า
หากจะรักษาศีลให้บริสุทธิ์จะต้องขึ้นไปยังโลกมนุษย์เท่านั้น จากนั้นก็ขึ้นมายังโลกมนุษย์
ขนดกายรักษาศีลอยู่บนจอมปลวกใกล้ทางเดินแห่งหนึ่ง โดยตั้งสัจอธิษฐานว่า แม้ชีวิตจะสิ้นก็จะไม่ทำให้ศีลวิบัติ ทว่า...แม้มีความตั้งใจท้วมท้นเพียงใด
เรื่องของกำหนดเวลาและความสม่ำเสมอนั้นยังไม่ไคร่มีเท่าใดนัก อยากทำตอนไหนก็ทำ
อยากหยุดตอนไหนก็หยุด กระทั้งพระพุทธเจ้าตรัสรู้และประทานพุทธโธวาทแก่นาคว่า
การรักษาอุโบสถศีลควรปฏิบัติวันใดบ้าง นับแต่นั้นพญานาคทั้งหลายที่มีสัมมทิฐิ
ต่างรักษาอุโบสถศีลอย่างเคร่งครัด ทั้งยังจำสีลจนครบพรรษาเหมือนกับพระพุทธเจ้าและพราะสงฆทั้งหลายอีกด้วย
และเมื่อวันออกพรรษาที่ 7 มาถึง
พระพุทธเจ้าก็เสด็จลงมาจากเทวโลกอย่างยิ่งใหญ่หลังไปแสดงธรรมโปรดพุทธมารดาเป็นเวลา
3 เดือน ระหว่างเสด็จลงมาพระองค์ทรงแสดงพุทธานุภาพเปิดโลกทั้ง 3 ออก เมื่อพญานาคได้เห็นก็เกิดแรงมหาปีติอย่างท้วมท้นโดยเฉพาะพวกที่รักษาอุโบสถสีลตลอดพรรษา
ได้พ่นบั้งไฟที่มีความสุกสว่างใสขึ้นบนท้องฟ้า เพื่อแสดงความนอบน้อมและศรัทธาต่อพระพุทธเจ้า
และเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระองค์ นับแต่นั้นทุกวันออกพรรษา
พญานาคที่จำศีลจนครบพรรษาก็จะออกมาพ่นบั้งไฟพญานาค
เพื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเสด็จลงจากเทวโลกไม่เคยขาด
พญานาคเคยทำบาปบ้างไหม?
จากคำกล่าวที่ว่าพญานาคไม่สามารถบรรลุธรรมได้ เพราะเป็นวัตว์เดรัจฉาน
ยังมีกิเลสเป็นเครื่องห่อหุ้ม แสดงให้เห็นว่าในหมู่พญานาคนั้นนอกจากจะมีพวกสัมมทิฐิแล้ว
พวกมิจฉาทิฐิก็มี สร้างบุญได้ก็สร้างบาปได้เช่นกัน อย่าง นันโทปนันทนาคราช
และพญานาคของชฏิล 3 พี่น้อง ที่แสดงฤทธิ์หวังทำร้ายและต่อต้านพระพุทธเจ้า
แม้ในปัจจุบัน พระอริยสงฆ์ผู้ดำรงค์มั่นในศีลาจารวัตรก็เคยมีประสบการณ์กับพญานาคพวกมิจฉาทิฐิมาบ้างเหมือนกัน
เช่น เหตุการณ์ที่หลวงปู่หลุย จันทสาโร ถูกพญานาคครึงรัด และเหตุการณ์พญานาคปล่อยพิษลงในแหล่งน้ำ
เมื่อครั้งที่หลวงปู่ชอบติดตามพระอาจารย์มั่นไปวิเวกแถบฝั่งแม่น้ำโขง
พิษพญานาคนั้นร้ายกาจอย่างไร?
ใน “คัมถีร์ปรมัตถโชติกพมหาอภิธรรมมัตถสังหฏีกา”
ปริเฉทที่ 5 จัดหมู่ของนาคตามชนิดของพิษไว้ 4 จำพวก ดังนี้
1. ปูติมุขะ พญานาคนี้กัดผู้ใดแล้ว รอยแผลจะเปื่อยเน่า
น้ำเหลืองไหลไม่หยุด และตายอย่างรวดเร็ว
2. กฎฐะมุขะ พญานาคนี้กัดผู้ใดแล้ว ร่างกายจะแข็งทื่อไปทั้งตัว
แขนขางอไม่ได้ เจ็บปวดแสนสาหัส และตายในที่สุด
3. อัคคิมุขะ พญานาคนี้กัดผู้ใดแล้ว จะเกิดอาการเร่าร้อนไปทั้งตัวดุจไฟเผา
แผลจะมีลักษณะคล้ายถูกไฟไหม้
4. สัตถะมุขะ พญานาคนี้กัดผู้ใดแล้ว จะตายทันทีเหมือนถูกฟ้าฝ่า
(สันนิษฐานว่าเป็นนาคพ่นพิษเหมือนมังกรพ่นไฟ)
อีกทั้งพญานาคทั้ง 4 ประเภทยังสามารถทำอันตรายได้ถึง 4 วิธี คือ
1. ทัฏฐะวิสาพญานาค เมื่อขบกัดแล้ว จะเกดพิษซ่านไปทั่วร่างกาย
2. ทิฏฐะวิสะพญานาค ใช้วิธีมอง แล้วพ่นพิษออกทางตา
3. ผุฏฐะวิสะพญานาค ใช้ลมหายใจ พ่นเป็นพิษแผ่ซ่าน
4. วาตาวิสะพญานาค มีพิษที่กาย จะแผ่พิษจากตัว
อนุโมทนาสาธุๆๆ ท่านที่ยังไม่รู้จะได้รับรู้ ท่านที่รู้แล้วจะได้รู้ยิ่งๆขึ้นไป
ตอบลบ