วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555

หลวงพ่อพระสุก วัดหลวง

หลวงพ่อพระสุก วัดหลวง อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย




หลวงพ่อพระสุก เป็นหนึ่งในพระพุทธรูป 3 องค์ ที่อัญเชิญมาจากเวียงจันทร์ อันประกอบด้วย พระสุก พระเสริม และพระใส ซึ่งสองพระองค์หลังสามารถข้ามแม่น้ำโขงมายังฝั่งไทยได้อย่างปลอดภัย ยกเว้นพระสุกเพียงพระองค์เดียวที่เกิดเหตุอัสจรรย์ถึงสองครั้งก่อนจมลงใต้ลำน้ำโขง จนปัจจุบันก็ยังไม่สามารถอัญเชิญขึ้นมาได้ แม้ว่าจะพยายามอยู่หลายครั้งก็ตาม (เชื่อว่าเป็นอิทธิฤทธิ์ของพญานาค) ทำให้ต้องสร้างองค์จำลองขึ้นมาทดแทน เพื่อให้ประชาชนได้สักการบูชา

ในปี พ.ศ. 2535 พระครูพิสัยกิจจาทร เจ้าอาวาสวัดหลวง และเจ้าคณะอำเภอโพนพิสัย พร้อมด้วยญาติโยม ได้ร่วมกันก่อสร้างเจดีย์ขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อพระสุก ซึ่งแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 8 ต.ค. 2536 จากนั้นจึงได้ประกอบพิธีหล่อพระพุทธรูปองค์หลวงพ่อพระสุกขึ้นและอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนเจดีย์

แต่หลังจากที่ประดิษฐานหลวงพ่อได้ไม่นาน อยู่ๆ ก็มีน้ำหยดลงมาจากฝ้าเพดานทุกวัน เจ้าอาวาสวัดจึงได้ให้ช่างขึ้นไปสำรวจดูยอดเจดีย์ว่ามีรอยรั่วหรือมีน้ำขังอยู่หรือไม่ เพราะเกรงว่าจะทำให้ยอดเจดีย์ทรุดและทำให้พื้นเจดีย์เสียหาย แต่ก็ไม่พบว่ามีน้ำขังและไม่มีรอยรั่วใดๆ สร้างความประหลาดใจเป็นอย่างมาก ช่างหลายคนพยายามช่วยกันแก้ไข แต่ทำอย่างไรก็ไม่หาย ไม่มีใครทราบว่าน้ำมาจากไหน ทางวัดจึงแก้ปัญหาโดยนำถังและภาชนะมารองน้ำไว้ทุกวัน

จนกระทั่งได้มีการพาร่างทรงมาประทับทรง ดดยร่างทรงกล่าวว่า “เหตุที่มีน้ำเนื่องจากมีพญานาคตนหนึ่งนำน้ำมาหล่อเลี้ยง และปกปักษ์รักษาองค์พระพุทธรูปอยู่ ไม่ให้เกิดเหตุเภทภัยขึ้น” เมื่อข่าวแพร่กระจายออกไป ทั้งชาวไทยและชาวลาวต่างเดินทางมาชมและตักน้ำที่หยดกลับไปบ้านเพื่อไปบูชา โดยมีชาวบ้านหลายคนเล่าหลังจากนำน้ำกลับไปว่า ได้เอาไปผสมน้ำอาบหรือไปลูบไล้ตามเนื้อตัว สามารถทำให้หายปวดเหมื่อยได้ หรือหากปวดหัว ปวดขา ปวดกล้ามเนื้อ ก็ให้นำน้ำศักดิ์สิทธิ์มาหยดตรงนั้นก็จะหายเช่นกัน จึงทำให้เชื่อกันว่าน้ำสามารถรักาโรคได้ บางคนก็มาบนบานขอพร ส่วนใหญ่จะขอให้หายเจ็บป่วย ทุกวันนี้มีชาวบ้านจากที่ต่างๆ พากันหลั่งไหลมากราบไหว้หลวงพ่อพระสุกและชมปรากฏการณ์น้ำหยดจากยอดเจดีย์มากขึ้น พร้อมทั้งไม่ลืมที่จะตักน้ำกลับไปบ้านด้วย

เหตุที่พระสุกจมน้ำ
ย้อนไปในรัชสมัยของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ช่วงปี พ.ศ. 2093 – 2115 แห่งอาณาจักรล้านช้างศรีสัตนาคนหุต ทรงมีพระราชธิดา 3 พระองค์ พระนามว่า เสริม สุก และใส  ในปี พ.ศ. 2019 (อ้างจากการท่องเที่ยวของ สปป.ลาว) พระธิดาทั้ง 3 พระองค์ได้ทรงร่วมกันสร้างพระพุทธรูปประจำพระองค์ขึ้น 3 องค์ เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาและเพื่อความเป้นสิริมงคล

ในพิธีหล่อพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์นั้น พระภิษุและฆารวาสช่วยกันทำการสูบเตาหลอมทองอยู่ตลอดถึง 7 วัน แต่ทองก็ยังไม่ละลาย พอถึงวันที่ 8 มีเพียงพระภิษุสูงอายุรูปหนึ่งกับสามเณรรูปหนึ่งสูบเตาอยู่ ก็ปรากฎมีชีปขาวคนหนึ่งอาสาสูบเตาแทนพระและเณร แต่วันนั้นญาติโยมต่างเห็นบรรดาชีปขาวสูบเตาอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อพระภิศุและสามเณรฉันเพลเสร็จแล้วก็จะไปสูบเตาต่อ ปรากฎว่าได้มีผู้เททองลงเบ้าทั้ง 3 จนเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่เห็นชีปขาวอยู่แม้แต่คนเดียว การหล่อพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ สำเร็จด้วยดีอย่างน่าอัศจรรย์ พระราชธิดาทั้ง 3 จึงถวายนามของตนเองให้เป็นนามของพระพุทธรูป

พระเสริม เป็นพระพุทธรูปประจำพระราชธิดาองค์พี่ พระสุก เป็นพระพุทธรูปประจำพระราชธิดาองค์กลาง และ พระใส เป็นพระพุทธรูปประจำพระราชธิดาองค์สุดท้อง ซึ่งทั้ง 3 องค์ประดิษฐาน ณ เมืองเวียงจันทร์

ต่อมา ในรัชกาลที่ 3 เจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทร์เป็นกบฏ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิ์พลเสพย์ เป็นจอมทัพยกพลมาปราบ เมื่อเมืองเวียงจันทรืสงบดีแล้วจึงได้อัยเชิญพระสุก พระเสริม และพระใส ลงมาด้วย โดยอัญเชิญมาจากภูเขาควายขึ้นประดิษฐานบนแพไม้ไผ่ซึ่งผูกติดกันอย่างมั่นคงล่องมาตามลำน้ำงึม

เมื่อล่องมาถึงตรงบ้านเวินแท่น (ในขณะนั้น) ได้เกิดเหตุอัศจรรย์ พายุพัดแรงจัด ทำให้แพเอนเอียงจนไม่สามารถรับน้ำหนักของพระแท่นไว้ได้ แท่นของพระสุกจึงได้แหกแพจมลงในน้ำ ที่ตรงนั้นจึงได้เรียกว่า “เวินแท่น” มาจนปัจจุบัน




แต่การล่องแพก็ยังสามารถล่องมาได้ตามลำดับ จนถึง (ปากน้ำงึม) เฉียงกับบ้านหนองกุ้ง อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย ก็ได้เกิดพายุใหญ่ขึ้นอีก เสียงฟ้าคะนองร้องลั่นไปทั่ว ในที่สุดพระสุกก็แหกแพจมลงใต้ลำโขง จากนั้นเหตุการณ์วิปริตต่างๆ ก็ได้หายไปในทันที บริเวณนั้นจึงได้ชื่อว่า “เวินสุก” (จนบัดนี้พระสุกก็ยังคงจมอยู่ตรงนั้น) คงเหลือแต่พระเสริมกับพระใสเท่านั้นที่ขึ้นฝั่งมาถึงเมืองหนองคายได้อย่างปลอดภัย

จาก เหตุอัศจรรย์ ที่พัดพระสุกจมลงนั้น เชื่อกันว่าเป็นเพราะอิทธิฤทธิ์ของพญานาคที่ต้องการพระสุกไปบูชายังเมืองใต้บาดาล และจากความเชื่อนี้ทำให้เกิดคำถามขึ้นว่า “ทำไมต้องเป็นพระสุก”

ความเชื่อแรก...
เนื่องจากการหล่อพระสุกเกิดปัญหาติดขัดไม่สำเร็จดี ทำให้พระธิดาองค์ที่สร้างพระสุกตั้งจิตอธิษฐานให้พญานาคช่วย เมื่อพญานาคขึ้นมาช่วยนางตามคำขอก็ได้ขอนางแต่งงาน ภายหลังจากที่หล่อเสร็จไม่นานก็เกิดศึกสงครามขึ้น พระธิดาได้สิ้รพระชนในศึกครานี้ และไปเกิดเป็นมเหสีของพญานาคดังคำที่เคยสัญญา ซึ่งสวามีของนางนั้นเป็นพญานาคที่ดีและมีบุญบารมี มีศรัทธาต่อพระพุทธเจ้า และพ่นบั้งไฟเป็นพุทธบูชาในวันออกพรรษาไม่เคยขาด จากการที่นางสามารถระลึกชาติได้แล้วเกิดความรู้สึกคิดถึงพระพุทธรูปที่ตนสร้าง นางจึงตั้งจิตปรารถนาว่าจะเป็นผู้ดูแลเอง เพราะเป็นพระประจำตัวของตน ครั้นมีผู้อัญเชิญพระสุกเดินทางมาตามลำน้ำโขง นางพญานาคจึงสำแดงฤทธิ์บันดาลให้เกิดพายุฝนขึ้น คราแรกไม่สำเร็จ มีเพียงพระแท่นที่จมลงมา นางจึงบันดาลพายุอีกเป็นครั้งที่สอง แล้วในที่สุดเรือที่อัญเชิญพระสุกมาก็ล่มลงพร้อมๆ กับพระสุกที่จมดิ่งลงสู่ใต้ลำน้ำโขง และคาดว่านางคงจะนำไปบูชาเก็บรักษาไว้ในภพของบาดาล แม้ภายหลังจะมีผู้พยายามอัญเชิญพระสุกขึ้นมา ก็ทำได้เพียงแค่ลอยขึ้นมาถึงพระอุระของพระสุกเท่านั้น แล้วก็กลับจมลงไปอีก นับจากนั้นก็ไม่มีผู้ใดกล้าที่จะอัญเชิญพระสุกขึ้นมาอีก เพราะกลัวจะทำให้นางพญานาคไม่พอใจ

ความเชื่อที่สอง
ด้วยความที่เหล่าพญานาคมีความศรัทธาต่อพระพุทธเจ้าหลังจากที่ได้ยินข่าวการสร้างพระพุทธรูปขึ้นที่เมืองล้านช้างพญานาคเหล่านั้นก็แปลงกายเป็นมนุษย์ขึ้นไปขอพระพุทธรูปจากเจ้าเมือง โดยเจาะจงขอพระสุกไปสักการบูชาแต่เจ้าเมืองไม่ให้ เป็นเหตุให้เมื่อมีการขนย้ายพระสุกผ่านลำน้ำโขงพญานาคจึงบันดาลให้เกิดพายุพัดพระสุกจมลงสู่ลำน้ำเพียงองค์เดียว

นอกจากนี้ยังมีบางแห่งเล่าเสริมว่า จริงๆ แล้พญานาคทรางข่าวตั้งแต่เริ่มสร้างแล้ว เพราะบรรดาชีปขาวที่มาช่วยเททองนั้นแท้จริงเป็นพญานาคแปลงกายมา เนื่องจากต้องการได้บุญกุศลจากการสร้างพระพุทธรูปในครั้งนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น